การพัฒนาที่ยั่งยืน

มิติด้านสิ่งแวดล้อม

คุณภาพอากาศ

  • ควบคุมการระบายมลสารจากโรงงานให้อยู่ภายในเกณฑ์มาตรฐานกำหนด
  • ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมฝุ่นละอองก่อนปล่อยออกจากระบบ

  • มีระบบดักเถ้าด้วยน้ำเพื่อลดการฟุ้งกระจายของเถ้าจากห้องเผาไหม้

  • สายพานลำเลียงเป็นระบบปิดคลุมเพื่อลดการฟุ้งกระจายระหว่างการลำเลียง

  • มีการฉีดพรมน้ำบริเวณเส้นทางขนส่งเถ้าก่อนขนส่งเถ้าไปยังลานกอง

  • ติดตั้งโครงตาข่ายรอบบริเวณกองเก็บชานอ้อย

  • ตรวจวัดคุณภาพอากาศจากแหล่งกำเนิดภายในพื้นที่โรงงานและ
    ภายนอกโรงงานปีละ 2 ครั้ง

น้ำ

  • ควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานที่ผ่านการบำบัดแล้วให้อยู่ในเกณฑ์
  • มาตรฐานกำหนดโดยไม่ปล่อยออกสู่ภายนอกโรงงาน

  • ตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งเป็นประจำทุกเดือน

  • นำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากบ่อบำบัดสุดท้ายกลับมาใช้ใหม่
    เช่น รดน้ำต้นไม้/แปลงอ้อยบริษัท

 เสียง

  • ติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถลดระดับเสียงที่แหล่งกำเนิด
    (บริเวณที่มีเสียงดัง) เช่นการปิดครอบ, การใช้วัสดุดูดซับเสียง

  • กำหนดให้พนักงานต้องใส่ที่ครอบหู Ear Muff หรือปลั๊กอุดหู
    Ear plug ในบริเวณที่มีเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบล (เอ)

  • จัดทำป้ายสัญลักษณ์บ่งชี้ในบริเวณที่มีระดับเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบล (เอ)
    กำหนดให้มีการดูแลต้นไม้ในเขตพื้นที่โรงงานไว้และปลูกเพิ่มเติม

  • รอบแนวเขตโรงงานทั้งหมด เพื่อเป็นแนวป้องกันฝุ่นและระดับเสียงรบกวน
    ต่อชุมชนโดยรอบ

  • จัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

การมีส่วนร่วมของประชาชน

 

  • มีการตรวจสุขภาพประชาชนรอบพื้นที่โรงงานรัศมี 3 กิโลเมตร
  • จัดให้มีการศึกษาดูงานจากภายนอกตามความเหมาะสม
  • เผยแพร่ข้อมูลผลการตรวจสอบต่างๆ ทางสิ่งแวดล้อมและขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ
  • ให้กับชุมชน และสถานอนามัยในพื้นที่
  • สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนและหน่วยงานภายนอกบริเวณรอบๆ โรงงาน